หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564

วิชา ศิลปะ


 

องค์ประกอบของทัศนศิลป์
 ทัศนศิลป์เป็นศิลปะที่มีที่มาและต้องรับรู้จากการมองเห็นเป็นศิลปะที่อาศัยพื้นที่ในการสร้างสรรค์ผลงาน จึงประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญที่เป็นมูลฐาน 8 ประการ คือ
    1. เส้น(line) หมายถึงจุดหลาย ๆ จุดที่เคลื่อนที่ต่อเนื่องไปในที่ว่างเปล่าจากทิศทางการเคลื่อนที่ต่าง ๆ  กัน เส้นถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอันดับแรก ของการจัดภาพและออกแบบงานทัศนศิลป์
  2.รูปร่าง   หมายถึงการบรรจบกันของเส้นที่เป็นขอบเขตของวัตถุที่มองเห็นเป็น2มิติคือ  มีความกว้างและความยาว 2 ด้านเท่านั้น รูปร่างในงานทัศนศิลป์มีอยู่ 2 ลักษณะดังนี้ รูปร่างพื้นฐาน ได้แก่ รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม รูปวงกลม เป็นต้น
  3.รูปทรง(form) หมายถึงรูปลักษณะที่มองเห็นเป็น3 มิติคือมีความกว้างความยาวและความหนาลึกประกอบด้วยรูปทรง 2 ลักษณะ ได้แก่รูปทรงพื้นฐานและรูปทรงไม่ธรรมดาเช่นเดียวกับรูปร่าง (Shape)  ต.ย. ลักษณะหนึ่งของรูปทรง
  4.ช่องว่าง(space) หมายถึง บริเวณที่ว่างเปล่าที่เรียกกันว่า "ช่องไฟ" ช่องว่างในงานทัศนศิลป์แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ  ช่องว่างจริงหรือช่องว่างกายภาพ เป็นช่องว่างในงานสถาปัตยกรรมและประติมากรรมที่สัมผัสได้จริง 
   5.พื้นผิว(Texture) คุณลักษณะต่าง ๆ ของผิวด้านหน้าของวัตถุทุกชนิดที่มีลักษณะต่าง ๆ กันเช่นเรียบขรุขระเป็นมันวาวด้านเป็นต้น ลักษณะของพื้นผิวที่ปรากฏแก่สายตานั้นจะมีผลต่อประสาทแห่งความรู้สึกของผู้มองได้ 
  6.มวล(Mass) หมายถึงปริมาตรของวัตถุทั้งหมดที่รวมกันอยู่ในรูปทรงของงานทัศนศิลป์ที่มีลักษณะทึบต้นซึ่งส่วนมากพบในงานประติมากรรม และสถาปัตยกรรม   
   7.สี(colour) หมายถึงลักษณะของแสงสว่างที่ปรากฏแก่สายตาให้เห็นสีต่างกันสีเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกเมื่อมองเห็น และทำให้เกิดอารมณ์ สะเทือนใจต่าง ๆ สีที่นำมาสร้างผลงานทางทัศนศิลป์เกิดจากการผสมสีต่าง ๆ เข้าด้วยกันตามทฤษฏีสี สี
ผลงาน
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น